วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

ต้นตะลิงปลิง



ชื่อวิทยาศาสตร์  : Averrhoa bilimbi L.
ชื่อวงศ์  : OXALIDACEAE
ชื่อสามัญ : ตะลิงปลิง
ชื่อสามัญ(ภาษาอังกฤษ) : Bilimbi, Bilimbing, Cucumber Tree
ชื่อท้องถิ่น : มะเฟืองตรนหลิงปลิง(ใต้)กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส) 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นตะลิงปลิง
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง 5-10 เมตร ลำต้นสั้น แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งมีขนอ่อนนุ่ม หักง่าย เปลือกสีชมพู ผิวเรียบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ เวียนกันไปเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แต่ละใบประกอบด้วยใบย่อย 21-45 ใบ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.2-3 ซม. ยาว 2-10 ซม. ท้องใบมีขนสีเหลือง ขอบใบเรียบ หรือ เป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกเป็นดอกช่อ ออกที่โคนต้นหรือกิ่งก้าน ยาว 5-20 ซม. กลีบดอกสีม่วงเข้ม ออกผลกว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาว 5-9 ซม. ผลสด ฉ่ำน้ำ สีเหลือง แกมเขียว ผิวบาง เรียบ รสเปรี้ยวจัด

ความเป็นมา ถิ่นกำเนิด :
ต้นตะลิงปลิงมีที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนิเซีย และตามชายทะเลในประเทศบราซิล               
ต้นตะลิงปลิงมีการปลูกในประเทศไทยมานานแล้ว ได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกโดยเรือชาวต่างชาติ

สรรพคุณของต้นตะลิงปลิง
รากของตะลิงปลิงสามารถนำมา ตากแห้งแล้วชงกับน้ำร้อน เพื่อใช้ดื่ม เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน สามารถรักษาโรคไขข้ออักเสบได้
 
ใบของตะลิงปลิง ลักษณะจะคล้ายกับใบมะยม มีสรรพคุณเป็นยาไทยแท้ ถ้าดื่มน้ำต้มใบตะลิงปลิง สามารถช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบและซิฟิลิสได้และนำมาตำสามารถพอกรักษาโรคข้ออักเสบ คางทุม และแก้คันได้
ผลของตะลิงปลิง ลักษณะจะคล้ายกับมะดัน สามารถกินได้สดๆ เป็นยาบำรุงกระเพาะ ช่วยให้เจริญอาหาร ลดไข้ แก้ไอ ลดเสมหะ รักษาริดสีดวงทวารได้ 

บริเวณที่พบ: บริเวณหน้าตึก 50 ปี บริเวณสวนพฤกษศาสตร์ของ ตึก 55 ปีและตึก 60 ปี ข้างลานอเนกประสงค์ และบริเวณตึก 2 

แหล่งข้อมูล 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น