วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

สมาชิก

สมาชิก


น.ส.เขมิกา พรหมจันทร์ เลขที่ 6
น.ส.จิณห์จุฑา พานิช เลขที่ 8
น.ส.นงนภัส สุนทรธรรม เลขที่ 13
น.ส.ปัณณิกา สุนทรวาทะ เลขที่ 16
น.ส.ปาลชาติ ศรีเหรา เลขที่ 17
น.ส.แพรวา หัสดี เลขที่ 19
น.ส.สุธินี ลีลารัตน์รุ่งเรือง เลขที่ 28

ห้อง 936 ชั้น ม.5

ต้นสัก



สัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สรรพคุณของต้นสักได้แก่ เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาบำรุงโลหิต แก้พิษโลหิต แก้อาการอ่อนเพลีย แก้อาการปวดศีรษะ ยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยรักษาประจำเดือนไม่ปกติ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น
สถานที่ที่พบได้ในโรงเรียน ได้แก่ ตึก 1, ตึก 2 และตึก 3



ต้นนนทรี



นนทรีเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ เปลือกต้น สีเทาอ่อนค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบประกอบแบบชนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว ทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกในฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน
นนทรีมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีก ดังนี้ กระถินแดง (ตราด) กระถินป่า (ตราด, สุโขทัย) และสารเงิน (เชียงใหม่, เหนือ) ประโยชน์ของต้นนนทรีคือการนำมาทำเป็นยารักษาโรคสะเก็ดเงิน
สถานที่ที่พบในโรงเรียน ได้แก่ ตึกศิลปะ, ตึก 1, ตึก 2, ตึก 3, ด้านข้างหอประชุม, ด้านข้างห้องสมุด



ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์

ชื่อสามัญ: Pink Trumpet, Pink Tecoma, Rosy Trumpet-tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tabebuia rosea
ชื่อวงศ์: Bignoniaceae
ชื่อท้องถิ่น: ชมพูพันธุ์ทิพย์, ชมพูอินเดีย
พบที่บริเวณ: ตึกศิลปะ
 ลักษณะ
·        ชมพูพันธุ์ทิพย์เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงใหญ่ เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลม แผ่กว้างเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาล เมื่ออายุมากเปลือกแตกเป็นร่อง กิ่งเปราะหักง่าย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
·        ใบเป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม
·        ดอกมีสีชมพูอ่อน ชมพูสดถึงสีขาว กลางดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร มักบานพร้อมกัน ร่วงง่าย

·        ผลเป็นผลแห้งแตก เป็นฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบนสีน้ำตาล มีปีก

ต้นพญาสัตบรรณ


ชื่อสามัญ: Devil Tree, White Cheesewood, Devil Bark, Dita Bark, Black Board Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Alstonia scholaris
ชื่อวงศ์: Apocynaceae
ชื่อท้องถิ่น: พญาสัตบรรณ สัตบรรณ หัสบัน จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทย ต้นตีนเป็ด
พบที่บริเวณ: ตึก 9, ตึกศิลปะ

ลักษณะ
·        ต้นพญาสัตบรรณ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลเมื่อกรีดจะมียางสีขาว และขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และการปักชำ นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
·        ใบ ออกเป็นกลุ่มที่บริเวณปลายกิ่ง โดยหนึ่งช่อจะมีใบประมาณ 5-7 ใบ ใบมีสีเขียวเข้ม ใบยาวรี ปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดของใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ก้านใบสั้นเมื่อเด็ดออกจะมีน้ำยาวสีขาว
·        ดอก สีเขียวอ่อนออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม

·        ผล ผลออกเป็นฝัก ลักษณะฝักยาว เป็นฝักคู่หรือฝักเดี่ยว ลักษณะเป็นส้น ๆ กลมเรียวมีความประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีขุยสีขาวสามารถปลิวไปตามลมได้ ส่วนในฝักจะมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมากลักษณะเป็นรูปขนานแบน ๆ ติดอยู่กับขุย

ต้นอโศกอินเดีย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polylthia longifolia (Benth) Hook. F. var.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE.

ชื่อสามัญ : The Mast Tree

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : อโศกเซนต์คาเบรียล , อโศกอินเดีย

ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดียและศรีลังกา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นทรงพุ่มเป็นรูปปิรามิดแคบ สูงได้ถึง 25 ม. ไม่ผลัดใบ กิ่งโน้มลู่ลงทั้งต้น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทาเข้มหรือเทาปนน้ำตาล 


ใบ ใบเดี่ยว ใบรูปหอก ยาว 15-20 ซม. ปลายแหลม ขอบใบเป็นคลื่น สีเขียวเป็นมัน


ดอก ดอกช่อสีเขียวอ่อนเป็นกระจุกตามข้างๆ กิ่ง แต่ละดอกเป็นรูปดาว 6 แฉก กลีบดอกเป็นคลื่นเล็กน้อย
ผล ผลรูปไข่ ยาว 2 ซม. เมื่อสุกมีสีดำ


บริเวณที่พบ: หลังห้องพยาบาลตึก 1 และบริเวณสนามฟุตซอล ตึก 2

ต้นนมแมว


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Rauwenhoffia siamensis Scheff.
ชื่อวงศ์:  ANNONAEAE
ชื่อสามัญ:  Rauwenhoffia siamensis
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดไม่สูงนัก สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านมีสีคล้ำ
    ใบ  ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก  โคนใบมน ปลายใบแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ใบด้านบนสาก มีขนตามเส้นกลางใบ
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยว เหมือนดอกลำดวน แต่เล็กกว่ากลีบบางกว่าไม่งุ้มโค้งมากเท่าดอกลำดวน สีขาวออกเหลืองนวล มี 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกแข็งและสั้น เมื่อบานเต็มที่มีขนาดประมาณ 0.5 นิ้ว
    ฝัก/ผล  ออกเป็นพวง  เมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม รับประทานได้
ฤดูกาลออกดอก:  มีดอกเกือบตลอดปี
การปลูก:  นิยมปลูกประดับและตัดแต่งให้เป็นทรงพุ่มสวยงาม
การดูแลรักษา:  ชอบดินที่มีความชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกกลิ่นหอมแรงในเวลาเย็นถึงค่ำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ดอก กลั่นทำน้ำหอม
    -    บริโภค
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย
แหล่งที่พบ:  ชายป่าชื้นทางภาคใต้ และภาคกลางของประเทศไทย
สรรพคุณทางยา:
    -    ดอก มีน้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่น
    -    เนื้อไม้และราก ต้มรับประทานแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ
    -    ราก เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้

บริเวณที่พบ: หลังตึก60ปี 

ต้นอัญชัน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea L.
ชื่อวงศ์  FABACEAE
ชื่อสามัญ         Blue Pea, Butterfly Pea
ชื่อพื้นเมือง แดงชัน อัญชัน เอื้องชัน
ถิ่นกำเนิด         แถบเอเชียเขตร้อน
ลักษณะทั่วไป
ต้น ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม
ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม มีใบย่อย 5-9 ใบ รูปไข่แกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอก สีขาว ฟ้า และม่วง ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ตามซอกใบ รูปดอกถั่ว   มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบดอก กลีบ ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็ก แต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 ซม.
ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 5-8 ซม.
เมล็ด รูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด
สภาพนิเวศวิทยา เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงพอสมควร ต้องการน้ำปานกลาง ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย
เวลาออกดอก ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด
ประโยชน์
ด้านอาหาร
1.นำดอกมาสกัดทำสีประกอบอาหาร
2.กินเป็นฝักได้ ทั้งจิ้มน้ำพริกสดๆ หรือนำไปชุบแป้งทอด
3.เครื่องดื่มดับกระหาย นำมาตากแห้งชงดื่มแทนน้ำชา
ด้านยารักษาโรค
1.ช่วยปลูกผมให้ผมดำขึ้น
2.ใช้เป็นยาระบาย
3.ใช้บำรุงสายตา ลดอาการทางโรคตา
บริเวณที่พบในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เรือนเกษตร

ต้นว่านหางจระเข้



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera  (L.)  Burm.f.
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis  Mill
ชื่อสามัญ :  Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์ :  Asphodelaceae                                                   
ชื่ออื่น :  หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผลแห้งรูปกระสวย
ส่วนที่ใช้ :  
ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า
สรรพคุณ :
  • ใบ - รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี
  • ทั้งต้น - รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
  • ราก - รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด
  • ยางในใบ - เป็นยาระบาย
  • น้ำวุ้นจากใบ - ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น
  • เนื้อวุ้น - เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร
  • เหง้า - ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ใช้เป็นยาภายใน
    1. เป็นยาถ่าย 
    ใช้น้ำยางสีเหลืองที่มีรสขม คลื่นไส้ อาเจียน น้ำยางสีเหลืองที่ไหลออกมาระหว่างผิวนอกของใบกับตัววุ้น จะให้ยาที่เรียกว่า ยาดำ 
    วิธีการทำยาดำ
    ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบให้เป็นรูปสามเหลี่ยม (ต้องเป็นพันธุ์เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบใหญ่ และอวบน้ำมาก จะให้น้ำยางสีเหลืองมาก) ต้นที่เหมาะจะตัด ควรมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป จะให้น้ำยางมากไปจนถึงปีที่ 3 และจะให้ไปเรื่อยๆ จนถึงปีที่ 10 ตัดใบว่านหางจระเข้ตรงโคนใบ และปล่อยให้น้ำยางไหลลงในภาชนะ นำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน
    ยาดำ
     มีลักษณะสีแดงน้ำตาล จนถึงดำ เป็นของแข็ง เปราะ ผิวมัน กลิ่นและรสขม คลื่นไส้ อาเจียน
    สารเคมี - สารสำคัญในยาดำเป็น G-glycoside ที่มีชื่อว่า barbaloin (Aloe-emodin anthrone C-10 glycoside)
    ขนาดที่ใช้เป็นยาถ่าย - 0.25 กรัม เท่ากับ 250 มิลลิกรัม ประมาณ 1-2 เม็ดถั่วเขียว บางคนรับประทานแล้วไซ้ท้อง
    2. แก้กระเพาะ ลำไส้อักเสบ 
    โดยเอาใบมาปอกเปลือกออก เหลือแต่วุ้น แล้วใช้รับประทาน วันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
    3. แก้อาการปวดตามข้อ
    โดยการดื่มว่านหางจระเข้ทั้งน้ำ วุ้น หรืออาจจะใช้วิธีปอกส่วนนอกของใบออก เหลือแต่วุ้น นำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ จะช่วยให้รับประทานได้ง่าย รับประทานวันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 2 ช้อนแกง บางคนบอกว่า เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้ อาการปวดตามข้อจะทุเลาทันที แต่หลายๆ คนบอกว่า อาการจะดีขึ้นหลังจากรับประทานติดต่อกันสองเดือนขึ้นไป สำหรับใช้รักษาอาการนี้ ยังไม่ได้ทำการวิจัย
  • ใช้สำหรับเป็นยาภายนอก
    ใช้ส่วนวุ้น ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด
    1. รักษาแผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก
    ใช้วุ้นในใบสดทา หรือแปะที่แผลให้เปียกอยู่ตลอดเวลา 2 วันแรก แผลจะหายเร็วมาก จะบรรเทาปวดแสบ ปวดร้อน หรืออาการปวดจะไม่เกิดขึ้น แผลอาจไม่มีแผลเป็น (ระวังความสะอาด)
    2. ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา และแก้แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี
     ป้องกันการถูกแดดเผา ใช้ทาก่อนออกแดด อาจใช้ใบสดก็ได้ แต่การใช้ใบสดอาจจะทำให้ผิวหนังแห้ง เนื่องจากใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าจะลดการทำให้ผิวหนังแห้ง อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืช หรืออาจจะเตรียมเป็นโลชันให้สะดวกในการใช้ขึ้น
    รักษาผิวหนังที่ถูกแดดเผา หรือไหม้เกรียมจากการฉายแสง โดยการทาด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้บ่อยๆ จะลดการอักเสบลง แต่ถ้าใช้วุ้นทานานๆ จะทำให้ผิวแห้ง ต้องผสมกับน้ำมันพืช ยกเว้นแต่ จะทำให้เปียกชุ่มอยู่เสมอ
    3. แผลจากของมีคม แก้ฝี แก้ตะมอย และแผลที่ริมฝีปาก
    เป็นการรักษาแบบพื้นบ้าน ล้างใบว่านหางจระเข้ให้สะอาด บาดแผลก็ต้องทำความสะอาดเช่นกัน นำวุ้นจากใบแปะตรงแผลให้มิด ใช้ผ้าปิด หยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้เปียกอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้
    4. แผลจากการถูกครูด หรือถลอก
    แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก ใช้ใบว่านหางจระเข้ล้างให้สะอาด ผ่าเป็นซีก ใช้ด้านที่เป็นวุ้นทาแผลเบาๆ ในวันแรกควรทาบ่อยๆ จะทำให้แผลไม่ค่อยเจ็บ และแผลหายเร็วขึ้น
    5. รักษาริดสีดวงทวาร
    นอกจากจะช่วยรักษาแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการปวด อาการคันได้ด้วย โดยทำความสะอาดทวารหนักให้สะอาดและแห้ง ควรปฏิบัติหลังจากการอุจจาระ หรือหลังอาบน้ำ หรือก่อนนอน เอาว่านหางจระเข้ปอกส่วนนอกของใบ แล้วเหลาให้ปลายแหลมเล็กน้อย เพื่อใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ถ้าจะให้เหน็บง่าน นำไปแช่ตู้เย็น หรือน้ำแข็งให้แข็ง จะทำให้สอดได้ง่าย ต้องหมั่นเหน็บวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
    6. แก้ปวดศีรษะ
    ตัดใบสดของว่านหางจระเข้หนาประมาณ ? เซนติเมตร ทาปูนแดงด้านหนึ่ง เอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
    7. เป็นเครื่องสำอาง
     7.1 วุ้นจากใบสดชโลมบนเส้นผม ทำให้ผมดก เป็นเงางาม และเส้นผมสลวย เพราะวุ้นของว่านหางจระเข้ทำให้รากผมเย็น เป็นการช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี ผมจึงดกดำเป็นเงางาม นอกจากนั้นแล้ว ยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะด้วย
     7.2 สตรีชาวฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้รวมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า (เนื้อในของเมล็ดสะบ้ามีสีขาว ส่วนผิวนอกของเมล็ดสะบ้ามีสีน้ำตาลแดง รูปร่างกลมแบนๆ ใช้เป็นที่ตั้งในการเล่นสะบ้า) ต่อเนื้อในเมล็ดสะบ้าประมาณ ? ของผลให้ละเอียด แล้วคลุกรวมกับวุ้น นำไปชโลมผมไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออก ใช้กับผมร่วง รักษาศีรษะล้าน
    7.3 รักษาผิวเป็นจุดด่างดำ ผิวด่างดำนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอายุมาก หรือถูกแสงแดด หรือเป็นความไวของผิวหนังแต่ละบุคคล ใช้วุ้นทาวันละ 2 ครั้ง หลังจากได้ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำสะอาด ต้องมีความอดทนมาก เพราะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ จึงจะหายจากจุดด่างดำ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ควรใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ทา จะทำให้ผิวหนังมีน้ำ มีนวลขึ้น
    7.4 รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อ ช่วยเรียกเนื้อ ช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ
    7.5 โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังลองใช้กับคนไข้ที่เป็นแผล เกิดขึ้นจากนั่ง หรือนอนทับนานๆ ( Bed sore )
    ปัจจุบัน มีเครื่องสำอางที่เตรียมขายในท้องตลาดหลายารูปแบบ เช่น ครีม โลชัน แชมพู และสบู่
    สำหรับสาระสำคัญที่สามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และอื่นๆ นั้น ได้ค้นพบว่าเป็นสาร glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A เป็น Anti-inflammatory พบในทุกๆ ส่วนของว่านหางจระเข้
ข้อควรระวังในการใช้ :
          ถ้าใช้เป็นยาภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร
          ถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเลิกใช้
          นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกแยะสาระสำคัญตัวใหม่จากใบว่านหางจระเข้ได้ สารตัวใหม่นี้เป็น glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A ได้จดสิทธิบัตรไว้ที่ European Patent Application ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
          นอกจากนี้พบว่า สารนี้สามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น มะเร็ง แก้อาการแพ้ รักษาไฟไหม้ และรักษาโรคผิวหนัง
สารเคมี: 
          ใบมี Aloe-emodin, Alolin, Chrysophanic acid Barbaboin, AloctinA, Aloctin B, Brady Kininase Alosin, Anthramol Histidine, Amino acid , Alanine Glutamic acid Cystine, Glutamine, Glycine

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

ต้นตะลิงปลิง



ชื่อวิทยาศาสตร์  : Averrhoa bilimbi L.
ชื่อวงศ์  : OXALIDACEAE
ชื่อสามัญ : ตะลิงปลิง
ชื่อสามัญ(ภาษาอังกฤษ) : Bilimbi, Bilimbing, Cucumber Tree
ชื่อท้องถิ่น : มะเฟืองตรนหลิงปลิง(ใต้)กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส) 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นตะลิงปลิง
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง 5-10 เมตร ลำต้นสั้น แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งมีขนอ่อนนุ่ม หักง่าย เปลือกสีชมพู ผิวเรียบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ เวียนกันไปเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แต่ละใบประกอบด้วยใบย่อย 21-45 ใบ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.2-3 ซม. ยาว 2-10 ซม. ท้องใบมีขนสีเหลือง ขอบใบเรียบ หรือ เป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกเป็นดอกช่อ ออกที่โคนต้นหรือกิ่งก้าน ยาว 5-20 ซม. กลีบดอกสีม่วงเข้ม ออกผลกว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาว 5-9 ซม. ผลสด ฉ่ำน้ำ สีเหลือง แกมเขียว ผิวบาง เรียบ รสเปรี้ยวจัด

ความเป็นมา ถิ่นกำเนิด :
ต้นตะลิงปลิงมีที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนิเซีย และตามชายทะเลในประเทศบราซิล               
ต้นตะลิงปลิงมีการปลูกในประเทศไทยมานานแล้ว ได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกโดยเรือชาวต่างชาติ

สรรพคุณของต้นตะลิงปลิง
รากของตะลิงปลิงสามารถนำมา ตากแห้งแล้วชงกับน้ำร้อน เพื่อใช้ดื่ม เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน สามารถรักษาโรคไขข้ออักเสบได้
 
ใบของตะลิงปลิง ลักษณะจะคล้ายกับใบมะยม มีสรรพคุณเป็นยาไทยแท้ ถ้าดื่มน้ำต้มใบตะลิงปลิง สามารถช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบและซิฟิลิสได้และนำมาตำสามารถพอกรักษาโรคข้ออักเสบ คางทุม และแก้คันได้
ผลของตะลิงปลิง ลักษณะจะคล้ายกับมะดัน สามารถกินได้สดๆ เป็นยาบำรุงกระเพาะ ช่วยให้เจริญอาหาร ลดไข้ แก้ไอ ลดเสมหะ รักษาริดสีดวงทวารได้ 

บริเวณที่พบ: บริเวณหน้าตึก 50 ปี บริเวณสวนพฤกษศาสตร์ของ ตึก 55 ปีและตึก 60 ปี ข้างลานอเนกประสงค์ และบริเวณตึก 2 

แหล่งข้อมูล 


ต้นจามจุรี



ชื่อ : จามจุรี หรือ ก้ามปู หรือ ฉำฉา
ชื่อพื้นเมือง : ก้ามกราม (กลาง)ก้ามกุ้ง (กทม.,อุตรดิตถ์)ตุ๊ดตู่ (ตราด)ลัง (เหนือ)สารสา (เหนือ)สำสา (เหนือ) และ เส่คุ่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทย์     : Samanea saman (Jacq.) Merrill
ชื่อวงศ์     :  LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE  
ชื่อสามัญ  : Rain Tree, Monkey Pod ,East Indian Walnut

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต้นจามจุรี
เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่และสูง เปลือกสีดำแตกและล่อนได้ เรือนยอดเป็นรูปร่มกว้าง  ใบเป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้น  ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่  ใบรูปไข่หรือรูปขนมเปียกปูนแต่เบี้ยว ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย ช่อดอกเป็นช่อดอกทรงกลม มีก้านช่อ และดอกออกรวมกันเป็นกระจุก กลีบดอกเล็กมากแต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ ผลเป็นฝักกลมแบนยาว ฝักแก่สีดำ มีเนื้อนิ่ม ฝักไม่แตกแต่จะหักเป็นท่อนๆ ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน แต่ละฝักมีเมล็ด 15-25 เมล็ด มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาใต้เขตร้อน กระจายพันธุ์ทั่วประเทศ และขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด 

ประโยชน์ของต้นจามจุรี
1.   เนื้อไม้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแกะสลักไม้ภาคเหนือ 
2.    จามจุรีเป็นแม่ไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้ผลดีมากชนิดหนึ่ง
3.    เป็นอาหารสัตว์ ใบและฝักมีคุณประโยชน์มาก สำหรับ วัว ควาย
4.    ปรับปรุงสภาพดินเลวให้ดีขึ้น 
5.    เป็นไม้ประดับยืนต้นที่สวยงาม ทั้งยังให้ร่มเงาที่ร่มเย็น 

บริเวณที่พบได้ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บริเวณลามจามจุรีศรีโพธิ์ ตึก 1 ตึกศิลปะ และตึก 3 
แหล่งข้อมูล