
ชื่อสามัญ: Devil Tree, White Cheesewood,
Devil Bark, Dita Bark, Black Board Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Alstonia
scholaris
ชื่อวงศ์: Apocynaceae
ชื่อท้องถิ่น: พญาสัตบรรณ สัตบรรณ หัสบัน
จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทย ต้นตีนเป็ด
พบที่บริเวณ: ตึก 9, ตึกศิลปะ
ลักษณะ
·
ต้นพญาสัตบรรณ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง
แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร
เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลเมื่อกรีดจะมียางสีขาว
และขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และการปักชำ
นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
·
ใบ ออกเป็นกลุ่มที่บริเวณปลายกิ่ง
โดยหนึ่งช่อจะมีใบประมาณ 5-7 ใบ ใบมีสีเขียวเข้ม ใบยาวรี
ปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดของใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร
ก้านใบสั้นเมื่อเด็ดออกจะมีน้ำยาวสีขาว
·
ดอก สีเขียวอ่อนออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง
ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม
หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ
ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง
ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
· ผล ผลออกเป็นฝัก ลักษณะฝักยาว เป็นฝักคู่หรือฝักเดี่ยว ลักษณะเป็นส้น ๆ
กลมเรียวมีความประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2
ซีก มีขุยสีขาวสามารถปลิวไปตามลมได้ ส่วนในฝักจะมีเมล็ดเล็ก ๆ
จำนวนมากลักษณะเป็นรูปขนานแบน ๆ ติดอยู่กับขุย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น