วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

สมาชิก

สมาชิก


น.ส.เขมิกา พรหมจันทร์ เลขที่ 6
น.ส.จิณห์จุฑา พานิช เลขที่ 8
น.ส.นงนภัส สุนทรธรรม เลขที่ 13
น.ส.ปัณณิกา สุนทรวาทะ เลขที่ 16
น.ส.ปาลชาติ ศรีเหรา เลขที่ 17
น.ส.แพรวา หัสดี เลขที่ 19
น.ส.สุธินี ลีลารัตน์รุ่งเรือง เลขที่ 28

ห้อง 936 ชั้น ม.5

ต้นสัก



สัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สรรพคุณของต้นสักได้แก่ เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาบำรุงโลหิต แก้พิษโลหิต แก้อาการอ่อนเพลีย แก้อาการปวดศีรษะ ยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยรักษาประจำเดือนไม่ปกติ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น
สถานที่ที่พบได้ในโรงเรียน ได้แก่ ตึก 1, ตึก 2 และตึก 3



ต้นนนทรี



นนทรีเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ เปลือกต้น สีเทาอ่อนค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบประกอบแบบชนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว ทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกในฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน
นนทรีมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีก ดังนี้ กระถินแดง (ตราด) กระถินป่า (ตราด, สุโขทัย) และสารเงิน (เชียงใหม่, เหนือ) ประโยชน์ของต้นนนทรีคือการนำมาทำเป็นยารักษาโรคสะเก็ดเงิน
สถานที่ที่พบในโรงเรียน ได้แก่ ตึกศิลปะ, ตึก 1, ตึก 2, ตึก 3, ด้านข้างหอประชุม, ด้านข้างห้องสมุด



ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์

ชื่อสามัญ: Pink Trumpet, Pink Tecoma, Rosy Trumpet-tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tabebuia rosea
ชื่อวงศ์: Bignoniaceae
ชื่อท้องถิ่น: ชมพูพันธุ์ทิพย์, ชมพูอินเดีย
พบที่บริเวณ: ตึกศิลปะ
 ลักษณะ
·        ชมพูพันธุ์ทิพย์เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงใหญ่ เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลม แผ่กว้างเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาล เมื่ออายุมากเปลือกแตกเป็นร่อง กิ่งเปราะหักง่าย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
·        ใบเป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม
·        ดอกมีสีชมพูอ่อน ชมพูสดถึงสีขาว กลางดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร มักบานพร้อมกัน ร่วงง่าย

·        ผลเป็นผลแห้งแตก เป็นฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบนสีน้ำตาล มีปีก

ต้นพญาสัตบรรณ


ชื่อสามัญ: Devil Tree, White Cheesewood, Devil Bark, Dita Bark, Black Board Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Alstonia scholaris
ชื่อวงศ์: Apocynaceae
ชื่อท้องถิ่น: พญาสัตบรรณ สัตบรรณ หัสบัน จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทย ต้นตีนเป็ด
พบที่บริเวณ: ตึก 9, ตึกศิลปะ

ลักษณะ
·        ต้นพญาสัตบรรณ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลเมื่อกรีดจะมียางสีขาว และขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และการปักชำ นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
·        ใบ ออกเป็นกลุ่มที่บริเวณปลายกิ่ง โดยหนึ่งช่อจะมีใบประมาณ 5-7 ใบ ใบมีสีเขียวเข้ม ใบยาวรี ปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดของใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ก้านใบสั้นเมื่อเด็ดออกจะมีน้ำยาวสีขาว
·        ดอก สีเขียวอ่อนออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม

·        ผล ผลออกเป็นฝัก ลักษณะฝักยาว เป็นฝักคู่หรือฝักเดี่ยว ลักษณะเป็นส้น ๆ กลมเรียวมีความประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีขุยสีขาวสามารถปลิวไปตามลมได้ ส่วนในฝักจะมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมากลักษณะเป็นรูปขนานแบน ๆ ติดอยู่กับขุย

ต้นอโศกอินเดีย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polylthia longifolia (Benth) Hook. F. var.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE.

ชื่อสามัญ : The Mast Tree

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : อโศกเซนต์คาเบรียล , อโศกอินเดีย

ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดียและศรีลังกา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นทรงพุ่มเป็นรูปปิรามิดแคบ สูงได้ถึง 25 ม. ไม่ผลัดใบ กิ่งโน้มลู่ลงทั้งต้น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทาเข้มหรือเทาปนน้ำตาล 


ใบ ใบเดี่ยว ใบรูปหอก ยาว 15-20 ซม. ปลายแหลม ขอบใบเป็นคลื่น สีเขียวเป็นมัน


ดอก ดอกช่อสีเขียวอ่อนเป็นกระจุกตามข้างๆ กิ่ง แต่ละดอกเป็นรูปดาว 6 แฉก กลีบดอกเป็นคลื่นเล็กน้อย
ผล ผลรูปไข่ ยาว 2 ซม. เมื่อสุกมีสีดำ


บริเวณที่พบ: หลังห้องพยาบาลตึก 1 และบริเวณสนามฟุตซอล ตึก 2

ต้นนมแมว


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Rauwenhoffia siamensis Scheff.
ชื่อวงศ์:  ANNONAEAE
ชื่อสามัญ:  Rauwenhoffia siamensis
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดไม่สูงนัก สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านมีสีคล้ำ
    ใบ  ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก  โคนใบมน ปลายใบแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ใบด้านบนสาก มีขนตามเส้นกลางใบ
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยว เหมือนดอกลำดวน แต่เล็กกว่ากลีบบางกว่าไม่งุ้มโค้งมากเท่าดอกลำดวน สีขาวออกเหลืองนวล มี 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกแข็งและสั้น เมื่อบานเต็มที่มีขนาดประมาณ 0.5 นิ้ว
    ฝัก/ผล  ออกเป็นพวง  เมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม รับประทานได้
ฤดูกาลออกดอก:  มีดอกเกือบตลอดปี
การปลูก:  นิยมปลูกประดับและตัดแต่งให้เป็นทรงพุ่มสวยงาม
การดูแลรักษา:  ชอบดินที่มีความชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกกลิ่นหอมแรงในเวลาเย็นถึงค่ำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ดอก กลั่นทำน้ำหอม
    -    บริโภค
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย
แหล่งที่พบ:  ชายป่าชื้นทางภาคใต้ และภาคกลางของประเทศไทย
สรรพคุณทางยา:
    -    ดอก มีน้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่น
    -    เนื้อไม้และราก ต้มรับประทานแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ
    -    ราก เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้

บริเวณที่พบ: หลังตึก60ปี