วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

ต้นจามจุรี



ชื่อ : จามจุรี หรือ ก้ามปู หรือ ฉำฉา
ชื่อพื้นเมือง : ก้ามกราม (กลาง)ก้ามกุ้ง (กทม.,อุตรดิตถ์)ตุ๊ดตู่ (ตราด)ลัง (เหนือ)สารสา (เหนือ)สำสา (เหนือ) และ เส่คุ่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทย์     : Samanea saman (Jacq.) Merrill
ชื่อวงศ์     :  LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE  
ชื่อสามัญ  : Rain Tree, Monkey Pod ,East Indian Walnut

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต้นจามจุรี
เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่และสูง เปลือกสีดำแตกและล่อนได้ เรือนยอดเป็นรูปร่มกว้าง  ใบเป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้น  ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่  ใบรูปไข่หรือรูปขนมเปียกปูนแต่เบี้ยว ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย ช่อดอกเป็นช่อดอกทรงกลม มีก้านช่อ และดอกออกรวมกันเป็นกระจุก กลีบดอกเล็กมากแต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ ผลเป็นฝักกลมแบนยาว ฝักแก่สีดำ มีเนื้อนิ่ม ฝักไม่แตกแต่จะหักเป็นท่อนๆ ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน แต่ละฝักมีเมล็ด 15-25 เมล็ด มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาใต้เขตร้อน กระจายพันธุ์ทั่วประเทศ และขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด 

ประโยชน์ของต้นจามจุรี
1.   เนื้อไม้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแกะสลักไม้ภาคเหนือ 
2.    จามจุรีเป็นแม่ไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้ผลดีมากชนิดหนึ่ง
3.    เป็นอาหารสัตว์ ใบและฝักมีคุณประโยชน์มาก สำหรับ วัว ควาย
4.    ปรับปรุงสภาพดินเลวให้ดีขึ้น 
5.    เป็นไม้ประดับยืนต้นที่สวยงาม ทั้งยังให้ร่มเงาที่ร่มเย็น 

บริเวณที่พบได้ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บริเวณลามจามจุรีศรีโพธิ์ ตึก 1 ตึกศิลปะ และตึก 3 
แหล่งข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น